อาการปวดเมื่อยเป็นสิ่งที่คอยขัดขวางการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานเป็นอย่างมาก ทำให้เราไม่สามารถใช้แรงหรือทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งอาการปวดเมื่อยนั้นเป็นสัญญาณเตือนภัยล่วงหน้า เพื่อเตือนว่ามีบางอย่างผิดปกติกับร่างกายของเรา

สาเหตุโดยทั่วไปของอาการปวดหลัง
อาการปวดหลัง เป็นอาการที่พบได้บ่อยเช่นเดียวกันกับอาการปวดหัว ทั้งนี้อาการปวดหลังสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย ยิ่งในปัจจุบันจะพบมากขึ้นนวัยทำงาน จากการทำงานติดโต๊ะโดยไม่เปลี่ยนอิริยาบถนั่นเอง ทั้งนี้หากปวดมากอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันด้วย สาเหตุทั่วไปที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง โดยทั่วไปมักเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชี่วิต เช่น การนั่งมากเกินไป การยกของหนักหรือการออกกำลังกายมากเกินไป ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นจะเป็นลักษณะการปวดเมื่อย รู้สึกกล้ามเนื้อตึงเท่านั้น แต่เมื่อใดก็ตามที่มีอาการปวดร้าวไปลงที่ ขา อาจเกิดจากหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทก็ได้

อาการปวดหลังบ่งบอกโรคอะไรได้บ้าง?

อาการปวดหลังร้าวลงขา ปวดเมื่อไอหรือจาม
ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการก้มหรือเงย ยกของหนัก นั่งทำงานอยู่ในท่านั่งเดิมเป็นเวลานาน แล้วไม่ค่อยได้เปลี่ยนอิริยาบถ รวมถึงความเสื่อมตามธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นอาการออฟฟิศซินโดรม ทั้งนี้หากปล่อยไว้นาน อาจะเป็นอาการที่บ่งบอกถึง “โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท” อันเกิดจากหมอนรองกระดูกสันหลัง ปลิ้นออกมาไปกดทับเส้นประสาทไขสันหลัง หรือรากประสาททำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังรุนแรง ปวดมากจนไม่อาจขยับตัวได้ โดยการปวดหลังจากโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดเมื่อไอ จาม เบ่งถ่ายขณะเข้าห้องน้ำ รู้สึกชาชา แอ่นหลังหรือก้มหลังแล้วรู้สึกปวดร้าวลงขามากขึ้น ปวดหลังร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้ง 2 ข้าง

อาการปวดตึงหลังเฉียบพลัน ปวดหลังบริเวณกว้าง
มักเกิดขึ้นจากการที่กล้ามเนื้อหลังของเราถูกใช้งานมากเกินไป เกิดอุบัติเหตุ โดนกระแทกที่หละงโดยตรง จนทำให้ “กล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉียบพลัน” ทันที ทั้งนี้โรคนี้ไม่มีความเกี่ยวข้องกับโครงสร้างของกระดูกสันหลังโดยตรง แต่เกิดจากกล้ามเนื้อหลังซึ่งสภาวะกล้ามเนื้อหลังอักเสบเฉี่ยบพลันจะมีอาการคล้ายๆ กับหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แต่ไม่มีอาการปวดร้าวลงขา อาการที่พบบ่อยๆ คือปวดเกร็งหลัง จนต้องแอ่นหลังตลอดเวลา และกล้ามเนื้อหลังหดเกร็งเป็นลำชัดเจน

อาการปวดหลังเหนือบั้นเอวทั้ง 2 ข้าง
มักเกิดจากความผิดปกติภายมน เช่น โรคไต โรคนิ่วในถุงน้ำดีหรือถุงน้ำในไต ทำให้ไตทำงานได้น้อยลง ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกาย ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ไตติดเชื้อ ไตวายเรื้อรัง จนถึงขั้นไตหยุดทำงานถาวร นอกจากนี้โรคกระเพาะ ลำไส้ มดลูก ปีกมดลูก รังไข่ ก็ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลังบริเวณนี้เช่นกัน แต่โรคเหหหล่านี้มักจะมีอาการปวดท้องควบคู่กันด้วย

ปวดหลังไม่ทราบสาเหตุ มีไข้
ทั้งนี้เมื่อเกิดอาการขึ้นตอนกลางคืนโดยที่ผู้ป่วยจะปวดหลังแบบไม่ทราบสาเหตุ ซีด และร่างกายโดยรวมอ่อนเพลียอาจมีการติดเชื้อบางอย่าง เช่น แบคทีเรีย หรือวัณโรค กระดูกสันหลัง ซึ่ง “วัณโรคกระดูกสันหลัง” เกิดจากเชื้อวัณโรคชนิดเดียวกับที่ทำให้เป็นวัณโรคปอด หรือต่อมน้ำเหลือง ต่อมาเชื้อ แพร่กระจายไปที่กระดูก โดยเฉพาะกระดูกสันหลังทางระบบท่อน้ำเหลืองหรือหลอดเลือดดำ เข้าสู่ส่วนหน้าของกระดูกสันหลังส่วนที่ติดกับหมอนรองกระดูกสันหลังแล้วเข้าไปทำลายกระดูกและหมอนรองกระดูกเมื่อถูกถูกทำลายจะทำให้กระดูกยุบตัว หลังโก่งงอ มีหนองหรือเศษกระดูกหรือหมอนรองกระดูกเลื่อน และเมื่อเข้าสู่ช่องไขสันหลังจะเกิดการกดทับประสาทที่ไขสันหลัง จนทำให้เป็นอัมพาตที่ขา แต่ถ้าเป็นวัณโรคที่กระดูกและเกิดมีพยาธิสภาพเช่นเดียวกันก็จะให้เกิดอัมพาตที่แขนได้ หากปวดแบบนี้ แนะนำให้รีบพบแพทย์จะดีที่สุด เพื่อตรวจและทำการรักษาโรคต่อไป

 

ติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  tomanzelc.com